หลังจากคณะกรรมการนโยบายทางการเงิน (กนง.) มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.50% เป็น 0.75% ต่อปี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ล่าสุดธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยประกาศตรึงดอกเบี้ยเงินกู้กันแล้ว เพื่อไม่ให้ลูกค้าได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาขึ้นในรอบนี้ และยังมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติม มีรายละเอียดดังนี้
-ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศธนาคารจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในทันที แต่จะขอติดตามสัญญาณทางเศรษฐกิจและพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนตัดสินใจอีกครั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป พร้อมทั้งยืนยันที่จะดูแลลูกค้าของธนาคารภายใต้สถานการณ์ที่มีความผันผวนและเปราะบาง เพื่อให้ลูกค้ารายย่อยมีความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ได้อย่างเหมาะสม และลูกค้าธุรกิจก็ยังให้มีสภาพคล่องที่ต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
โดยธนาคารได้มีแนวทางให้ความช่วยเหลือลูกค้าผ่านมาตรการแก้หนี้อย่างยั่งยืน สำหรับลูกค้ารายย่อยและลูกค้าเอสเอ็มอีที่มียอดขายน้อยกว่า 75 ล้านบาทต่อปีอยู่แล้ว ดังนี้
1.การลดอัตราผ่อนและขยายระยะเวลาผ่อนผ่านกระบวนการแก้หนี้อย่างยั่งยืน
2.การลดอัตราชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตเหลือ 5% และบัตรกดเงินสด (Speedy Cash) เหลือ 3% ซึ่งธนาคารจะมีการปรับอัตราชำระขั้นต่ำให้โดยอัตโนมัติ โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
3.การขยายวงเงินอนุมัติสูงสุดสำหรับสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับลูกค้าที่มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท จาก 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า
4.ธนาคารมีการพิจารณารวมยอดหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน (Debt Consolidation) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการผ่อนชำระของลูกค้า
-ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เป็นอีกหนึ่งแห่งยังตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับเดิมและยังคงมาตรการช่วยเหลือลูกค้าสินเชื่อทุกกลุ่มภายใต้โครงการ “ตั้งหลัก” ซึ่งที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านการเงินจากสถานการณ์โควิด-19 ไปกว่า 750,000 ราย นอกจากนี้ ธนาคารยังมีโปรแกรมรวบหนี้ หรือ Debt Consolidation ผ่านสินทรัพย์บ้านหรือรถ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ดีในการช่วยลดภาระดอกเบี้ยและยอดผ่อนรายเดือน เสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ ธนาคารเองยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมการออมเพื่อสอดรับกับนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้น โดยธนาคารมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากพิเศษ ttb up & up บัญชีที่ให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นทุก ๆ 6 เดือน และได้รับดอกเบี้ยทุก 3 เดือน เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเงินฝากที่มุ่งเน้นการออมในบัญชีดอกเบี้ยสูง เพิ่มสภาพคล่อง ถอนได้ก่อนกำหนดไม่ถูกลดดอกเบี้ย โดยได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจาก 1.6% เป็น 1.8% มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา และธนาคารมีแผนจะปรับยอดเงินฝากขั้นต่ำจาก 100,000 บาท เป็น 5,000 บาท เพื่อช่วยให้ลูกค้าทั่วไปมีทางเลือกในการออมเงินบัญชีดอกสูงนี้ได้ โดยจะเริ่ม 1 กันยายนนี้
-ธนาคารกสิกรไทย ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจที่มีวงเงินสินเชื่อแต่ละผลิตภัณฑ์ไม่เกิน 2 ล้านบาท และไม่มีสถานะเป็น NPL โดยมีรายละเอียดมาตรการความช่วยเหลือ ดังนี้
มาตรการ “ลดยอดผ่อนชำระต่อเดือน 10%” ระยะเวลา 12 เดือน ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการนี้ ได้แก่ ลูกค้าธุรกิจที่ใช้บริการ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และสินเชื่อเงินด่วนเพื่อธุรกิจ, ลูกค้าบุคคลที่ใช้บริการ สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อเงินด่วน โดยลูกค้าบุคคลและธุรกิจที่สนใจเข้าร่วมมาตราการนี้ สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ธนาคารกสิกรไทยได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-30 ธันวาคม 2565
มาตรการ “ผ่อนชำระขั้นต่ำ 5%” ระยะเวลา 12 เดือน ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการนี้ ได้แก่ ลูกค้าบุคคลที่ใช้บริการ บัตรเครดิต และบัตรเงินด่วน โดยมาตรการนี้จะเป็นการปรับยอดขั้นต่ำให้ลูกค้าโดยอัตโนมัติ ลูกค้าไม่ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ
-ธนาคารกรุงเทพ มีมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกประเภท ทั้งลูกค้าธุรกิจ และลูกค้าบุคคล เพื่อให้ลูกค้าได้รับความช่วยเหลืออย่างยั่งยืนในระยะยาว สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ โดยแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกค้ามีหลายรูปแบบ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับลูกค้า เช่น การพิจารณาปรับลดยอดผ่อน ขยายระยะเวลาชำระหนี้ ให้ระยะเวลาปลอดหนี้ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย โอนทรัพย์ชำระหนี้ ให้สินเชื่อใหม่ การขยายวงเงินบัตรเครดิตจาก 1.5 เท่าเป็น 2 เท่าของรายได้ต่อเดือน นอกจากนี้ยังมีการรวมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นที่ไม่มีหลักประกัน (Debt Consolidation)
-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีมาตรการ คือ ในกลุ่มลูกค้ารายย่อย ธนาคารยังคงมีมาตรการให้ความช่วยเหลือที่หลากหลาย ทั้งการลดอัตราค่างวดผ่อนชำระ การขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ เป็นต้น ส่วนกลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเน้นย้ำมาตรการเชิงรุกในการส่งทีมผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์เข้าไปดูแลและให้ความช่วยเหลือลูกค้าในแต่ละรายอย่างใกล้ชิดผ่านมาตรการต่างๆ อาทิ การเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การลดอัตราดอกเบี้ย การขยายระยะเวลาการชำระสินเชื่อ พร้อมทั้งให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถประคับประคองและเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้